[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
:::โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ยินดีต้อนรับ:::
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
::: ยินดีต้อนรับสู่ เว็บไซต์โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ 32180 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต33 กระทรวงศึกษาธิการ :::
เมนูหลัก
ภาระงานกลุ่มบริหาร






ภาระงานกลุ่มสาระ
















ภาระงาน จปส.


 






 



 




หลักสูตรลดเรียนเพิ่มรู้&บูรณาการ
กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ IS3 
 








ห้องเรียนออนไลน์








 

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีเยี่ยม
  2. ดีมาก
  3. ดี
  4. ปานกลาง
  5. พอใช้


ช่องทางร้องทุกข์
ระบบสารสนเทศ




















  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุด การปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมั

เจ้าของผลงาน : นางสาวนงค์รักษ์ ลีสี
พุธ ที่ 12 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563
เข้าชม : 7799    จำนวนการดาวน์โหลด : 601 ครั้ง
4.5 stars เฉลี่ย : 4.5 จาก 33 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
 
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดการปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดการปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดการปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดการปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (3.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)     ชุดการปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ      (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดการปลูกพืชผัก      สวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1  โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1)  คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดการปลูกพืชผัก    สวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 เล่ม     ใช้คู่กับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดการปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E)  (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.825 (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 30 ข้อ (4) แบบประเมินหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)     5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าที t-test (Dependent Samples)
 
ผลการวิจัยพบว่า
            1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุด การปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา  ที่เกี่ยวกับวิธีสอนแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง  การเรียน ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความพึงพอใจในการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ซึ่งใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง ทั้งแบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า มีความสอดคล้อง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.00 ทุกรายการ
  2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุด การปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพโดยรวม 88.90/93.98 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  3. นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุด การปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
   4.  นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุด การปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
   5. นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุด การปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.38




ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      Best Practices -กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 16/พ.ค./2565
      รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์อย่างเป็นระบบแบบองค์รวม โรงเรียนจารย์วิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ 4/พ.ย./2564
      รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2563 6/พ.ค./2564
      การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 15/มี.ค./2564
      คู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 8/มี.ค./2564


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ peerapun@cps.ac.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป