|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
งานวิจัยทั่วไป |
|
เรื่อง : รายงานผลการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เรื่อง การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์จากกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ผ่านการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
เจ้าของผลงาน : นางสาวสุพรรณี ขาวงาม
เสาร์์ ที่ 10 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2562
เข้าชม : 3561 จำนวนการดาวน์โหลด : 367 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติได้อย่างสันติสุขและเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง ทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้
นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เป็นแนวคิดอย่างหนึ่งที่ครูในประเทศญี่ปุ่นใช้เพื่อพัฒนาวิชาชีพมาเป็นเวลานาน เป็นแนวคิดที่สามารถช่วยให้ครูพัฒนาตนเองไปพร้อมๆกับพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน สติกเลอร์ และฮีเบริ์ต (1999) อ้างใน (สุลัดดา ลอยฟ้าและไมตรีอินทร์ประสิทธิ์, 2547) ได้สะท้อนผลการพัฒนาครูแบบ Lesson Study ของญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จและเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครูในห้องเรียนตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาของญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ได้แก่ เป็นรูปแบบที่อยู่บนพื้นฐานการพัฒนาที่ต่อเนื่อง, เป็นรูปแบบที่คงไว้และรักษาเป้าหมายเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก, เป็นรูปแบบที่เน้น การพัฒนาการสอนในบริบทของห้องเรียนที่ทำการสอนอยู่เป็นหลัก, เป็นรูปแบบที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มครู และครูผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาแบบ Lesson Study มองบทบาทตัวเองว่าเป็นผู้ที่มีส่วนสนับสนุนการ พัฒนาองค์ความรู้ด้านการสอนและขณะเดียวกันก็ได้ พัฒนาวิชาชีพด้านการสอนของตนเอง
ผู้วิจัยได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายผู้นิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเปิดชั้นเรียน (Lesson study) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ โดยมี ดร.รวิชญุฒม์ ทองแม้น, ดร. ชัยสิทธิ์ คุณสวัสดิ์ และคณะ เป็นวิทยากร ในวันที่ ๑๐ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ณ ห้องประชุมคชาธาร อาคารเศวตกุญชร อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เพื่อให้มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู อย่างต่อเนื่อง คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๓ จึงได้ปฏิบัติการในเรื่องการศึกษา ชั้นเรียน (Lesson Study) ผ่านการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยได้นำ ผลการอบรมลงสู่การปฏิบัติที่โรงเรียนและเลือกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๘ ในการทำวิจัยการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา 25๖๑ เพื่อวางแผนและปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยน
ความรู้และปัญหาร่วมกัน ซึ่งจะทำ ให้ได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพนำ ไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนอย่างต่อเนื่อง
|
|
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ) |
|
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
 |
ความคิดเห็นที่ 1
จันทร์ ที่ 12 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2562 เวลา 21:52:29 |
|
|
ข้อความ :
เป็นการจัดการศึกษาชั้นเรียนได้ในระดับดี สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนได้
|
|
|
โดย : Punyanur30@gmail.com ไอพี : 223.205.xxx.xxx |
|
 |
|
 |
|
|
 |
|
 |
 |
ความคิดเห็นที่ 2
พฤหัสบดี ที่ 13 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เวลา 16:21:26 |
|
|
ข้อความ :
จัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียน Lesson study ได้ดีมาก ขอชื่นชมนะคะ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเนื้อหาวรรณคดีไทยได้เป็นอย่างดี
|
|
|
โดย : Chananan.yua@br.ac.th ไอพี : 203.172.xxx.xxx |
|
 |
|
 |
|
กำลังแสดงหน้าที่ 1/1 <<
1
>>
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ peerapun@cps.ac.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
|
|
|
 |  |  |
|