[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
:::โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ยินดีต้อนรับ:::
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
::: ยินดีต้อนรับสู่ เว็บไซต์โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ 32180 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต33 กระทรวงศึกษาธิการ :::
เมนูหลัก
ภาระงานกลุ่มบริหาร






ภาระงานกลุ่มสาระ
















ภาระงาน จปส.


 






 



 




หลักสูตรลดเรียนเพิ่มรู้&บูรณาการ
กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ IS3 
 








ห้องเรียนออนไลน์








 

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีเยี่ยม
  2. ดีมาก
  3. ดี
  4. ปานกลาง
  5. พอใช้


ช่องทางร้องทุกข์
ระบบสารสนเทศ





















  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
FFI (Fatal Familial Insomnia) โรคนอนไม่หลับมรณะ  VIEW : 329    
โดย 845

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 233
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 12
Exp : 34%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 49.228.238.xxx

 
เมื่อ : ศุกร์์ ที่ 3 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2564 เวลา 21:10:52    ปักหมุดและแบ่งปัน

FFI (Fatal Familial Insomnia) โรคนอนไม่หลับมรณะ

การนอนไม่หลับ (อังกฤษ: insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับซึ่งไม่สามารถนอนหลับหรือนอนหลับได้ไม่นานเท่าที่ต้องการ
โรคนอนไม่หลับมรณะ (Fatal Familial Insomnia) ถือเป็นโรคหายากที่เคยระบาดในประเทศอังกฤษแต่ยังไม่เคยพบในประเทศไทย
โรคนี้เกิดจากการกลายพันธุ์ของโปรตีนพรีออน (Prion) และมีประสิทธิภาพสูงในการส่งต่อผ่านทางพันธุกรรม
ผู้ป่วยจะมีอาการนอนไม่หลับจนเกิดความกังวลจากนั้นอาการจะมีความรุนแรงขึ้นจนเสียชีวิตในที่สุดถึงแม้จะมีการวิจัยโรคนี้อยู่เรื่อย ๆ
แต่ยังไม่พบยาหรือวิธีการที่จะรักษาโรคนี้ได้

โรค FFI คืออะไร
โรคนอนไม่หลับมรณะ (Fatal Familial Insomnia) หรือ โรค FFI เป็นโรคหายากที่รุนแรงกว่าโรคนอนไม่หลับทั่วไป
ผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการรุนแรงตั้งแต่อายุประมาณ 45 ปีขึ้นไป โดยจะไม่สามารถนอนหลับได้จนเกิดความวิตกกังวล
อาการจะรุนแรงขึ้นตามระยะอาการทั้ง 4 ระยะ ผู้ป่วยโรค FFI จะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงภายในระยะเวลาประมาณ 1 ปี
หลังอาการเริ่มรุนแรง อีกทั้งโรคนี้ยังมีโอกาสถ่ายทอดทางพันธุกรรมสูงมาก และยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายเป็นปกติได้อีกด้วย

สุขภาพ
ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/photos/man-guy-tired-lazy-morning-5522892/

ระยะของโรค FFI
ระยะที่ 1 ใน 4 เดือนแรกผู้ป่วยจะมีอาการนอนไม่ค่อยหลับจนอาจเกิดความกังวลในอาการของตนเอง
ระยะที่ 2 ผู้ป่วยจะเริ่มเห็นภาพหลอนจากอาการนอนไม่หลับ ทำให้เกิดความกังวลมากขึ้น ในบางรายอาจเริ่มมีอาการผิดปกติทางจิต
ระยะที่ 3 ร่างกายจะเริ่มส่งสัญญาณของความเสียหาย เช่น น้ำหนักลดลง สูญเสียการสัมผัส ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อของตนเองได้
ทรงตัวไม่ค่อยได้ และการทำงานของระบบประสาทผิดปกติ
ระยะที่ 4 ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการสมองเสื่อมและเริ่มสูญเสียความทรงจำ โดยอาการจะหนักขึ้นไปตามเวลาภายใน 1 ปี
ผู้ป่วยจะมีอาการเข้าขีดอันตรายและเสียชีวิตในที่สุด

สาเหตุของโรค FFI
โรค FFI เกิดมาจากการกลายพันธุ์ของโปรตีนในชื่อ “พรีออน (Prion)” เมื่อการกลายพันธุ์เกิดขึ้นและสะสมในปริมาณมาก
จะส่งผลให้ระบบสมองส่วนไฮโปทาลามัสที่ควบคุมการนอนหลับเกิดความเสียหาย การแพร่กระจายของโปรตีนกลายพันธุ์นี้
จะทำให้สมองเริ่มผิดรูปและมีรูคล้ายฟองน้ำจนเนื้อสมองถูกทำลายในที่สุด นอกจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรค FFI แล้ว
ยังสามารถรับโปรตีนกลายพันธุ์นี้จากบริโภคอาหารที่มีโปรตีนพรีออนปนเปื้อนอยู่ได้เช่นกัน

โปรตีนพรีออน (Prion) อันตรายของโรค FFI
โปรตีนพรีออนมีลักษณะเป็นโปรตีนขนาดเล็กมีเอกลักษณ์ที่สามารถทนทานต่อปัจจัยด้านอุณหภูมิทั้งความร้อน ความเย็น
รวมไปถึงอากาศแห้ง โปรตีนชนิดนี้เป็นตัวก่อโรคโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรค FFI และสามารถติดต่อกันได้ในสิ่งมีชีวิต
และยังไม่มีตัวยาหรือวัคซีนชนิดไหนที่สามารถกำจัดหรือรักษาโปรตีนกลายพันธุ์ชนิดนี้ได้

โรคนอนไม่หลับมรณะ (FFI) กับโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ต่างกันอย่างไร
โรค FFI จะมีอาการที่รุนแรงขึ้นจนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิต ด้วยความที่โรค FFI เป็นโรคที่หายากอย่างมาก
การทดสอบและวิจัยเพื่อหาวิธีการรักษาจึงทำได้อย่างยากลำบากด้วยเช่นกัน สำหรับผู้ป่วยจึงทำได้เพียงรักษาตามอาการจากผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อบรรเทาอาการลงเท่านั้น อย่างไรก็ตามนักวิจัยยังคงพยายามหาตัวยาหรือวิธีการรักษาต่อไป แต่โรคนอนไม่หลับทั่วไปสามารถรักษาได้
ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนอน จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการพักผ่อน และการรักษาด้วยยาภายใต้การดูแลของแพทย์

ถึงแม้ว่าโรค FFI จะอันตรายอย่างมากและยังไม่เคยพบเจอในไทย แต่ด้วยความที่โปรตีนพรีออนสามารถพบได้จากการปนเปื้อนในอาหาร
เราจึงควรดูแลสุขอนามัยทุกครั้งที่ทานอาหารด้วยการทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ ๆ อยู่เสมอ

https://thaigoodherbal.com/ffi-fatal-familial-insomnia-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%b0/