ปัญหาชาปลายนิ้ว หรือรู้สึกมีอาการเหน็บชาตามปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าเหมือนมีใครเอาเข็มมาทิ่มแทง
อาจเป็นปัญหาที่ใครหลายคนกำลังประสบอยู่ โดยเฉพาะคนที่ต้องใช้มือและแขนในการทำงานบ่อย ๆ
บางรายอาจเป็นเฉพาะเวลานั่ง หรือนอนเพลินจนเผลอทับแขนตัวเอง แต่บางรายอาจเป็นถี่
จนเริ่มมีความกังวลว่าตัวเองจะเป็นโรคอะไรหรือไม่ แน่นอนว่าอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรค
ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งแต่ละอาการจะมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป
ดังนั้นเรามาดูกันว่าอาการที่เราเป็นอยู่นั้นจะสามารถบอกโรคอะไรเราได้บ้างเพื่อนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/photos/hands-old-typing-laptop-internet-545394/
1. โรคปลายเส้นประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy)
ปกติแล้วเส้นประสาทจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างสมองกับอวัยวะต่าง ๆ หากเส้นประสาทมีปัญหา
จะส่งผลให้อวัยวะส่วนนั้นทำงานผิดปกติไปด้วย ทำให้เกิดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า
หรือไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นได้
2. โรคเรย์นอด (Raynaud’s Disease) เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงเล็กของนิ้วเกิดการหดตัวอย่างรวดเร็ว
ทำให้เลือดไปเลี้ยงปลายนิ้วไม่ได้
3. โรคเอ็นอักเสบที่ข้อมือ (De quervain’s Tenosynovitis) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น
และเส้นเอ็นบริเวณข้อมือทางฝั่งนิ้วโป้งทำให้เกิดการกดทับของเส้นเอ็นภายใน
4. โรคเบาหวาน (Diabetes) ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเกิดภาวะเสียหายกับเส้นประสาทบริเวณมือและเท้า
นำไปสู่อาการชาปลายนิ้วบริเวณนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าได้
5. โรคพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ คือ โรคในกลุ่มที่มีการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
ซึ่งเกิดพังผืดที่หนาตัวขึ้นไปกดทับถูกเส้นประสาท ทำให้ช่องที่ให้เส้นเอ็นผ่านขณะงอ หรือเหยียดนิ้วแคบลง
ส่งผลให้มีอาการปวดและชาตามนิ้ว เพราะเส้นประสาทถูกกดทับ
การรักษาอาการชาที่ปลายนิ้ว
1. พยายามขยับนิ้วมือบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้เส้นประสาทเกิดการกดทับ หรือเกิดพังผืดที่เส้นประสาท
2. งดทำกิจกรรม หรือใช้งานมือ แขน หรือเท้าหนักเกินไป เช่น การยกของหนัก เพราะอาจส่งผลให้อาการเจ็บยิ่งเพิ่มขึ้น
3.รับประทานยาเพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท
4.ฉีดสเตียรอยด์ วิธีนี้จะใช้สำหรับกรณีผู้ป่วยรับประทานยาแล้วไม่ได้ผล
5. การผ่าตัด จะใช้ในกรณีเส้นประสาทกดทับ หรือเส้นประสาทได้รับความเสียหาย
อาการชาที่ปลายนิ้วหากไม่รุนแรงผู้ป่วยจะยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แต่หากอาการเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น
จนลามไปที่อวัยวะอื่น เราไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคทางเส้นประสาท จึงควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.petcharavejhospital.com/
https://thaigoodherbal.com/5-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81/
|