|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
นวัตกรรมทางการศึกษา |
|
เรื่อง : แผนเศรษฐกิจพอเพียง ม.5 ฉบับคู่มือวิทยากร
เจ้าของผลงาน : นางศุภลักษณ์ ศรีผาวงศ์
อังคาร ที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563
เข้าชม : 7423 จำนวนการดาวน์โหลด : 386 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แผ่นที่ 4 ชุดคำถามกระตุ้นคิดเพื่อปลูกฝังหลักคิดพอเพียง
แผนการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับแสงเชิงคลื่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เวลา 2 ชั่วโมง
คำถามกระตุ้นคิดเพื่อปลูกฝังหลักคิดพอเพียง : ก่อนเรียน
Q1 : แสงเป็นคลื่นชนิดใด (เงื่อนไขความรู้ของนักเรียน)
(แนวตอบ : แสงเป็นคลื่นตามขวาง)
Q2 : แสงสามารถเลี้ยวเบนได้หรือไม่ (เงื่อนไขความรู้ของนักเรียน)
(แนวตอบ : เนื่องจากการเลี้ยวเบนเป็นสมบัติของแสงจึงทำให้แสงสามารถเลี้ยวเบนได้)
Q3 : คลื่นแสงต่างจากคลื่นเสียงหรือไม่ เพราะเหตุใด (เงื่อนไขความรู้ของนักเรียน หลักเหตุผล)
(แนวตอบ : แสงเป็นคลื่นต่างจากคลื่นเสียง เพราะคลื่นเสียงเป็นคลื่นกล แต่แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีความยาวคลื่นในช่วงประมาณ 400-700 นาโนเมตร)
Q4 : สมบัติของแสงเชิงคลื่นมีอะไรบ้าง และสามารถศึกษาได้อย่างไร(เงื่อนไขความรู้ของนักเรียน หลักเหตุผล)
(แนวตอบ : สมบัติการแทรกสอดและการเลี้ยวเบน สามารถทำการศึกษาได้โดยใช้อุปกรณ์การศึกษาแสงเชิงกายภาพเบื้องต้น เช่น ช่องเปิดเดี่ยว ช่องเปิดคู่ เกรตติง)
คำถามกระตุ้นคิดเพื่อปลูกฝังหลักคิดพอเพียง : ระหว่างเรียน
Q5 : นักวิทยาศาสตร์ใดเสนอแนวคิดว่า แสงเป็นอนุภาคและสามารถใช้แนวคิดนี้ในการอธิบายการสะท้อนและการหักเหของแสงได้ (เงื่อนไขความรู้ของนักเรียน หลักเหตุผล)
(แนวตอบ : นิวตัน)
Q6 : แนวคิดเรื่องแสงของ ธอมัส ยัง (Thomus Young) เป็นอย่างไร (เงื่อนไขความรู้ของนักเรียน หลักเหตุผล)
(แนวตอบ : แสงเป็นคลื่น เนื่องจากได้ทำการทดลองโดยแสดงให้เห็นว่าแสงเกิดแทรกสอด และสามารถคำนวณหาความยาวของคลื่นแสงได้)
Q7 : พฤติกรรมใดที่แสดงว่าแสงเป็นคลื่น (เงื่อนไขความรู้ของนักเรียน หลักเหตุผล)
(แนวตอบ : พฤติกรรมการแทรกสอดและการเลี้ยวเบนของแสง แสดงให้เห็นว่าแสงเป็นคลื่น)
Q8 : มนุษย์สามารถรับรู้คลื่นแสงได้อย่างไร (เงื่อนไขความรู้ของนักเรียน หลักเหตุผล)
(แนวตอบ : มนุษย์สามารถรับรู้คลื่นแสงได้จากการมองเห็น)
คำถามกระตุ้นคิดเพื่อปลูกฝังหลักคิดพอเพียง : หลังเรียน
Q9 : ทำไมนักเรียนจะต้องเรียนรู้เรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับแสงเชิงคลื่น (มีเหตุผล)
Q10 : ในการทำกิจกรรมการเรียนรู้มีข้อผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์หรือไม่ อย่างไร แล้วนักเรียนจะวางแผนใช้หลักความพอเพียง (2 เงื่อนไข 3 หลักการ) เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งต่อไปได้อย่างไรบ้าง
|
|
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ) |
|
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
 |
ความคิดเห็นที่ 1
อังคาร ที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563 เวลา 12:07:19 |
|
|
ข้อความ :
ช่วยเขียนข้อเสนอแนะ และคำแนะนำด้วยนะคะ
|
|
|
โดย : supaluk@cps.ac.th ไอพี : 159.192.xxx.xxx |
|
 |
|
 |
|
|
 |
|
 |
 |
ความคิดเห็นที่ 2
จันทร์ ที่ 17 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563 เวลา 15:38:24 |
|
|
ข้อความ :
ขอชื่นชม
เป็นผลงานที่ดี
สามารถเป็นแบบอย่างได้ค่ะ
|
|
|
โดย : supannee@cps.ac.th ไอพี : 124.122.xxx.xxx |
|
 |
|
 |
|
|
 |
|
 |
 |
ความคิดเห็นที่ 3
จันทร์ ที่ 17 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563 เวลา 15:38:35 |
|
|
ข้อความ :
ขอชื่นชม
เป็นผลงานที่ดี
สามารถเป็นแบบอย่างได้ค่ะ
|
|
|
โดย : supannee@cps.ac.th ไอพี : 124.122.xxx.xxx |
|
 |
|
 |
|
กำลังแสดงหน้าที่ 1/1 <<
1
>>
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ peerapun@cps.ac.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
|
|
|
 |  |  |
|